อาจารย์ CAMT ร่วมมือกับสำนักงานคณะรัฐมนตรี ประเทศญี่ปุ่น

เพื่อพัฒนา “ระบบแจ้งเตือนไฟป่าผ่านดาวเทียม” นำร่องเชียงใหม่ที่แรก

S 74588260

          วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูดินันท์ สิงห์คำฟู อาจารย์ประจำสาขาวิศกรรมซอฟต์แวร์ (นานาชาติ) ร่วมมือกับสำนักงานคณะรัฐมนตรี ประเทศญี่ปุ่นและ GISTDA จัดตั้งโครงการ “การพัฒนาระบบแจ้งเตือนผ่านดาวเทียมเพื่อการจัดการไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่” พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและแจ้งเตือนไฟป่าในพื้นที่นำร่อง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการฯ ดังกล่าวดำเนินการภายใต้หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ (3E) สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากทีมวิศวกรจาก บริษัท SONY และ NTT Data ประเทศญี่ปุ่น ทำระบบ Sensor ตรวจจับไฟป่า เพื่อทดสอบการส่งสัญญาณระยะไกล และระบบดาวเทียมที่มีความเสถียรและแม่นยำสูง รวมทั้งระบบส่งข้อความแบบสั้นผ่านระบบดาวเทียม QZSS ชองประเทศญี่ปุ่นช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถรับข้อมูลจุดความร้อนและประเมินสถานการณ์ได้รวดเร็วในพื้นที่ป่าลึกไม่มีสัญญาณติดต่อสื่อสารชนิดอื่น ส่งผลต่อการควบคุมไฟป่าได้ทันท่วงที โดยได้ติดตั้งระบบ Sensor ไปแล้วกว่า 10 จุด       

                                           S 74588264   S 74588262

        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูดินันท์ สิงห์คำฟู ในฐานะหัวหน้าโครงการ เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนไฟป่าผ่านดาวเทียมให้ดียิ่งขึ้น จึงส่งนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตร Data science ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยาลัยฯ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปฝึกงานทางด้าน Edge AI และ IoT ที่ SONY Semiconductor Tokyo ในประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 2567 โดยโดยบริษัทเป็นผู้สนับสนุนทุนดังกล่าว  และจะพัฒนาระบบและนำ Sensor มาติดตั้งเพิ่มเติมในพื้นที่นำร่อง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา เพิ่มเติมอีกราว 50 จุดในปี 2567-2568 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ SO2 ของวิทยาลัยฯ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่อยอดงานวิจัยไปสู่กิจกรรมบริการสังคม และ Global Partnership นอกจากนี้ในคววามร่วมมือดังกล่าว ช่วงเดือนกันยายนที่จะถึง จะมีการจัด Workshop ร่วมกับ Data Science Lab มหาวิทยาลัย Musashino Tokyo University โดยจะนำนักศึกษา 20 คน จากประเทศญี่ปุ่นมาจัดกิจกรรมวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาของวิทยาลัยฯ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์